วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

โรงเรียนในฝัน

การท่องเที่ยวเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของจังหวัดสุรินทร์  เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีจุดเด่นในเรื่องของศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี  วิถีชีวิตที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ  และคณะรัฐมนตรีจึงมีมติอนุมัติให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดท่องเที่ยวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2527   ความมีชื่อเสียงเกี่ยวกับข้าวหอมมะลิ ผ้าไหม และช้าง อาทิเช่น การมีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทยเป็นเมืองช้าง การเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ การมีผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานและส่งออกขายไปทั่วโลก การได้รับคัดเลือกให้ออกแบบและทอผ้าไหมสำหรับตัดเสื้อให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC นอกจากนี้ การเป็นจุดเชื่อมต่อของอารยธรรมขอมโบราณ การเป็นเมืองชายแดนที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมเป็นประตูสู่แหล่งท่องเที่ยวระดับโลก อย่างปราสาทหินนครวัด นครธม ในกัมพูชา ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี เหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อของจังหวัดสุรินทร์เป็นที่รู้จักในระดับโลกและมีความภาคภูมิใจในหลายด้านดังต่อไปนี้
ข้าว”  สุรินทร์เป็นดินแดนที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศและของโลก มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 3 ล้านไร่ พร้อมที่จะเป็นแหล่งผลิตข้าวเลี้ยงคนไทยและเป็นครัวของโลก โดยเฉพาะที่สำคัญข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ จังหวัดได้ประกาศนโยบายเป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมีและสารพิษ มาตั้งแต่ปี 2542 และคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 12 พ.ย. 2544 ให้จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดนำร่องในเรื่องการเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยและจังหวัดกำลังพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปสู่มาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณการส่งออกต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547 จังหวัดสุรินทร์ได้ประกาศใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ (มก.สร.) เป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ในปี 2549 จังหวัดสุรินทร์ได้ประกาศให้เป็นปีแห่งคุณภาพและ มาตรฐานข้าวหอมมะลิอินทรีย์อีกด้วย และปัจจุบันจังหวัด ได้พัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปสู่มาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มผลผลิต
และปริมาณการส่งออก โดยสมัครขอรับรองมาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์ ทั้ง 4 มาตรฐาน คือ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.), มาตรฐานเกษตร อินทรีย์ Organic Thailand (มก.อช.) ของกรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,  มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ (มก.สร.) และ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ของสหภาพ ยุโรป (EU) นอกมหัศจรรย์แห่งผ้าไหมที่งดงาม และในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย บ้านท่าสว่าง อ.เมือง รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบและทอผ้าคลุมพระอังสา (ไหล่) ไหมยกทอง เพื่อเป็นที่ระลึกแด่    พระราชอาคันตุกะ ที่เสด็จมาร่วมในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีจากนี้ แหล่งปลูกข้าวในจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ได้พัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีโฮมสเตย์ (Home Stay) ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่สนใจอีกด้วย
ผ้าไหม”  สุรินทร์เป็นแหล่งภูมิปัญญาแห่งผ้าไหมมหัศจรรย์ มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกัมพูชา ผ้าไหมสุรินทร์เป็นผ้าไหมที่มีคุณภาพดี   มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะถิ่น และผ้าไหมสุรินทร์ที่กำลังมีชื่อเสียงเป็นที่สนใจอยู่ในขณะนี้ คือ ผ้าไหม   ยกทองโบราณ บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผ้าไหมที่ใช้ตัดเสื้อให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคสวมใส่ นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดสุรินทร์ และเป็นที่ประจักษ์ถึงความ

ช้าง”  สุรินทร์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเป็นความภูมิใจที่สำคัญที่สุด คือ “ช้าง โดยเป็นจังหวัดที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในประเทศไทย มีช้างมากกว่า 700 เชือก คนสุรินทร์เลี้ยงช้างเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว จึงมีวิถีชีวิต ความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ซึ่งแตกต่างจากการเลี้ยงช้างในจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งในอดีตช้างเคยเป็นพาหนะของพระมหากษัตริย์ในการทำศึกสงคราม ปัจจุบันช้างเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อปี พ.ศ. 2544 ให้ช้างเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ซึ่งในปี 2549 จังหวัดได้จัดให้มีโครงการช้างคืนถิ่นพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด และองค์การสวนสัตว์กำลังดำเนินการโครงการสวนสัตว์สุรินทร์ พื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม  เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วิถีชีวิตและภูมิปัญญา เพื่อแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อนและอนุรักษ์และคุ้มครองช้างให้อยู่คู่กับจังหวัดสุรินทร์ต่อไป โดยท่านสามารถไปเยี่ยมชมวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ระหว่างคนกับช้าง และการแสดงช้างที่ศูนย์คชศึกษาได้ทุกวัน และยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ (Home Stay) ให้ท่านได้พักผ่อนดูวิถีชีวิตความผูกพันของคนกับช้างได้อย่างใกล้ชิด และช้างเหล่านี้จะเข้าร่วมงานแสดงช้างประจำปี  ในของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งในปี 2553 นี้จัดขึ้นวันที่ 13-14 พฤศจิกายน 2553

                “เมืองแห่งอารยธรรมและปราสาทโบราณ”  สุรินทร์เป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน  เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงอารยธรรมขอมโบราณ  มีปราสาทที่เก่าแก่ถึง 32 แห่ง กระจายอยู่ทั่วไป เช่น ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.สังขะ สร้างราวพุทธศตวรรษที่13 เป็นปราสาทที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด   ที่ค้นพบในประเทศไทย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ ปราสาทศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ  ปราสาทบ้านพลวง    อ.ปราสาท และกลุ่มปราสาทตาเมือน  ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.พนมดงรัก ซึ่งอยู่ในเขตชายแดนและเป็นจุดเชื่อมต่อ  ตามรอยเส้นทางอารยธรรมขอมโบราณที่สำคัญ เป็นต้น

เพื่อให้ท่านได้สัมผัสกับสุรินทร์.. จังหวัดที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองไม่เหมือนที่ไหนในโลก สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิตผู้คนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จังหวัดมีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง  มุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้มีโอกาสสัมผัส เรียนรู้ ทั้งทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ เสน่ห์เฉพาะตัวของดินแดนที่มีวิถีแห่งธรรมชาตินี้ โดยมีงานกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เช่น เทศกาลการแสดงศิลปวัฒนธรรม พื้นบ้านนานาชาติ  พิธีแต่งงานแบบชาวกูยและจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง งานประเพณีขึ้นเขาสวาย เคาะระฆังพันใบ กราบไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น  พระพุทธ             สุรินทรมงคล สถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกจิชื่อดัง  ศาลาอัฏฐะมุขประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง  เจ้าแม่กวนอิม ฯลฯ และที่สำคัญท่านจะได้มีโอกาสได้เคาะระฆัง ถึง 1080 ใบ  ติดตั้งบริเวณทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธสุรินทรมงคล ซึ่งได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธ โดยจังหวัดได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกันจัดหาระฆังจากทุกวัดในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,070 ใบ และได้รับมอบระฆังจากวัดสำคัญอื่นๆ อีก 10 ใบ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวนอุทยานพนมสวาย ได้เคาะระฆังเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต  นอกจากนั้นยังมี งานมหกรรมแห่เทียนพรรษา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน และ งานช้างและกาชาดสุรินทร์ เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม ได้แก่
1. ช้าง ที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม รวมถึงงานช้างและกาชาดจังหวัดสุรินทร์ ที่จัดขึ้นในห้วงเดือนพฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี
2. ผ้าไหมยกทองโบราณ บ้านท่าสว่าง อ.เมืองสุรินทร์
   3. วนอุทยานพนมสวาย หรือ เขาสวาย ซึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวสุรินทร์เคารพนับถือ ได้มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธ
   4. ตลาดช่องจอม  ซึ่งเป็นตลาดการค้าชายแดนที่จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม  อ.กาบเชิง
   5. หัตถกรรมเครื่องเงิน บ้านเขวาสินรินทร์ ต.เขวาสินรินทร์  อ.เขวาสินรินทร์
   6. อารยธรรมขอมโบราณ  มีปราสาทที่เก่าแก่ถึง 32 แห่ง
   7. อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง  ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ อันเป็นอ่างเก็บน้ำที่สำคัญของจังหวัด
   8. ห้องภาพเมืองสุรินทร์ ที่หน้า ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นแหล่งรวมภาพเก่าที่แสดงความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
   9. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ถนนสุรินทร์-ปราสาท หมู่ที่ 13 ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัด และวิถีชีวิตชาวสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
สถิตินักท่องเที่ยวของจังหวัด ปี 2551 มีจำนวน 583,128 คน (เป็นชาวไทย 572,993 คน และ        ชาวต่างประเทศ 10,135 คน) ลดลงจากปีก่อน 0.12%







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น